ป่าซางเป็นเมืองเก่าชุมชนเก่าแก่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ส่วนที่ตั้งของอำเภอป่าซางนั้นตั้งอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำทากับแม่น้ำปิง ก่อนที่จะตั้งเป็นอำเภอป่าซางนั้น บ้านป่าซางเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอปากบ่อง จังหวัดลำพูน ในอดีตเมื่อครั้งสมัย พระยาวชิรปราการ (เจ้ากาวิละ) ทรงขับไล่พม่าออกจากแผ่นดินล้านนาได้แล้ว เป็นยุคของการ "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" ทรงรวบรวมสะสมไพร่พลไว้ที่ป่าซาง โดยใช้ชื่อว่า เวียงเวฬุคาม ลักษณะเวียงเวฬุคามตั้งอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำกวงด้านทิศตะวันตก มีแนวกำแพงเมืองลักษณะในรูปเกือกม้าหรือรูปครึ่งวงเดือน คูน้ำที่ล้อมรอบเวียงเวฬุคามนั้นใช้น้ำไหลเข้าจากน้ำแม่ทาโดยมีฝายกั้นที่หน้าธนาคารออมสินปัจจุบัน น้ำไหลรอบคูเมืองไปออกที่ข้างป่าช้าป่าซางปัจจุบัน ลักษณะกำแพงเมืองเวฬุคามกว้างประมาณ 1 เมตร และมีป้อมยามรักษาการณ์ตลอดแนวกำแพงเมืองระยะห่างประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันซากกำแพงเมืองเวฬุคามยังมองซากอยู่เป็นช่วง ๆ ยาวกว่า 1.5 กิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
ลักษณะที่ตั้ง สำนักงานเทศบาลตำบลป่าซาง อาคารสำนักงานเลขที่ 666 ถนนลำพูน – ลี้ หมู่ที่ 1 ตำบลป่าซางอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีพื้นที่ 12.168 ตร.กม. ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของจังหวัดลำพูน ห่างจากจังหวัดลำพูนประมาณ 11 กิโลเมตร
มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนที่ทำการอำเภอปากบ่อง(เดิม) ฟากตะวันตก ริมแม่น้ำปิงฝั่งใต้ เลียบแม่น้ำปิง ฝั่งใต้ เลียบแม่น้ำปิงไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำปิงฝั่งใต้ และริมแม่น้ำกวงฝั่งใต้ บรรจบกันระยะทาง 1 กิโลเมตร จากหลักเขตที่ 2 เลียบริมแม่น้ำกวง ฝั่งใต้ ไปทางทิศตะวันออกผ่านสะพานสบทา ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำกวง ฝั่งใต้และริมแม่น้ำทา ฝั่งตะวันตกบรรจบกันระยะทางประมาณ 0.6 กิโลเมตร ทิศตะวันออกจากหลักเขตที่ 3 เลียบริมแม่น้ำทา ฝั่งตะวันตกไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำทา ฝั่งตะวันตก และปากลำเหมืองน้ำคืน
ฝั่งใต้ บรรจบกัน ระยะ ทางประมาณ 5.0 กิโลเมตรทิศใต้ จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ตามแนวขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ท่าลี่–ลำพูน ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมลำเหมืองน้ำคำ ฝั่งเหนือ ระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตร จากหลักเขตที่ 5 เลียบริมลำเหมืองคำฝั่งเหนือ และลำเหมืองน้ำใสฝั่งตะวันออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมลำเหมืองน้ำใส ฝั่งตะวันออก ตรงที่บรรจบถนนประชาอุทิศ ฟากเหนือ ระยะทางประมาณ 3.9 กิโลเมตร ทิศตะวันตกจากหลักเขตที่ 6 เลียบลำเหมืองน้ำใสฝั่งตะวันตก ออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 7 ติดแม่น้ำปิง ระยะทางประมาณ 2.2 กิโลเมตรจากหลักเขตที่ 7 เลียบลำน้ำปิงไปตามสภาพแม่น้ำ จนบรรจบหลักเขตที่ 1ระยะทางประมาณ 2.8 กิโลเมตร
ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลป่าซางนั้น เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาร่วมสร้างร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลป่าซาง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาเทศบาลตำบลป่าซางจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลป่าซาง ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคคลากรที่มีคุณภาพโดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้นจะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น และยังให้จัดตั้งเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนรวม
การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และรวบรวมกฎหมายอื่นของเทศบาล ใช้เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าเทศบาลตำบลมีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม ในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก SWOT เทศบาลตำบลป่าซางกำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
(1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก (มาตรา 67 (1))
(2) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร (มาตรา 68(1))
(3) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา 68(2))
(4) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา 68(3))
(5) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา 16(4))
(6) การสาธารณูปการ (มาตรา 16(5))
2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา 67(6))
(2) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 67(3))
(3) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ (มาตรา 68(4))
(4) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา 16(10))
(5) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา 16(2))
(6) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา 16(5))
(7) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา 16(19))
3. ด้านการจัดระเบียบชุมชนสังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 67(4))
(2) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (มาตรา 68(8))
(3) การผังเมือง (มาตรา 68(13))
(4) จัดให้มีที่จอดรถ (มาตรา 16(3))
(5) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา 16(17))
(6) การควบคุมอาคาร (มาตรา 16(28))
4. ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยว
มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา 68(6))
(2) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ (มาตรา 68(5))
(3) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา 68(7))
(4) ให้มีตลาด (มาตรา 68(10))
(5) การท่องเที่ยว (มาตรา 68(12))
(6) กิจการเกี่ยวกับการพาณิช (มาตรา 68(11))
(7) การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา 16(6))
(8) การพาณิชย์กรรมและการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16(7))
5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
(1) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 67(7))
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (มาตรา 67(2))
(3) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ (มาตรา 17 (12))
6. ด้านการศาสนา ศิลปะวัฒนาธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 67(8)
(2) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (มาตรา 67(5)
(3) การจัดการศึกษา (มาตรา 16(9)
(4) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนาธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (มาตร17(18)
7. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 45(3))
(2) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร (มาตรา 67(9)
(3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน (มาตรา 16(16))
(4) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 17(3))
(5) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(มาตรา 17(16))
ภารกิจทั้ง 7 ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจเทศบาลตำบลสามารถจะแก้ไขปัญหาของเทศบาลตำบลป่าซางได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วยการดำเนินการของเทศบาลตำบล จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของ ผู้บริหารของเทศบาลตำบลเป็นสำคัญ
ภารกิจหลักและภารกิจรองที่เทศบาลตำบลจะดำเนินการ
ภารกิจหลัก
1. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
2. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
4. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร
6. ด้านการส่งเสริมการศึกษา
7. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ภารกิจรอง
1. การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี
2. การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ
3. การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ประชากร |
ครัวเรือน/หลังคา |
|||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||||
ตำบลปากบ่อง |
||||||
1 |
543 |
671 |
1,214 |
684 |
||
2 |
145 |
167 |
312 |
181 |
||
3 |
153 |
167 |
320 |
139 |
||
4 |
323 |
333 |
656 |
270 |
||
5 |
320 |
374 |
694 |
273 |
||
รวม |
1,484 |
1,712 |
3,196 |
1,547 |
||
ตำบลป่าซาง |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ครัวเรือน/หลังคา |
||
1 |
892 |
1,138 |
2,030 |
1,301 |
||
2 |
407 |
462 |
869 |
321 |
||
3 |
439 |
499 |
938 |
493 |
||
4 |
327 |
404 |
731 |
352 |
||
5 |
243 |
302 |
545 |
227 |
||
รวม | 2,308 | 2,805 | 5,113 |
2,694 |
เทศบาลตำบลป่าซาง |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ครัวเรือน/หลังคา |
รวมทั้งหมด |
3,792 |
4,517 |
8,309 |
4,241 |
0 |
ทะเบียนบ้านกลาง |
8 |
0 |
8 |
2 |
สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบริมน้ำ ด้านทิศเหนือ มีแม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง ไหลผ่านเป็นแนวเขตติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออก มีแม่น้ำทาไหลผ่านตลอดแนวประมาณ 4 กิโลเมตร แนวตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำกวง ไหลมาบรรจบแม่น้ำทาและแม่น้ำปิง จึงมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่เพาะปลูกซึ่งมีเนื้อที่ประมาณร้อยละ50 ส่วนใหญ่อาศัยน้ำบาดาลและบ่อน้ำตื้นเป็นสำคัญ
ลักษณะภูมิอากาศ
จากสภาพภูมิประเทศที่โอบล้อมด้วยภูเขาและแม่น้ำทำให้สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเย็นสบายไม่ร้อนจัดมาก และในช่วงฤดูหนาวตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม อากาศจะเย็นจัดในตอนเช้าและมีหมอกลง อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่ำสุดประมาณ 14 องศาเซลเซียล และสูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียลในฤดูร้อน ในฤดูฝนจะมีน้ำหลากมากฝนตกชุกตลอดฤดู
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม และมีอากาศ ร้อนจัดในเดือนเมษายน
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม สิ้นสุดเดือนตุลาคม และมีฝนตกหนัก ในเดือนกันยายน
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ และจะมีอากาศหนาวสุดในช่วงเดือนธันวาคม
สภาพทางเศรษฐกิจ/ อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย และทำการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่ทำสวนลำไยและทำนา
การคมนาคม ถนนสายหลัก คือ ถนนสายลำพูน-ลี้ และถนนสายสบทา-ท่าลี่ สามารถเชื่อมต่อทางหลวงชนบท เขตอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน